ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง/พีซีโอเอส (Polycystic ovary syndrome/  (อ่าน 94 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 513
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง/พีซีโอเอส (Polycystic ovary syndrome/PCOS)

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง/พีซีโอเอส (Polycystic ovary syndrome/PCOS)*  ประกอบด้วยภาวะไม่มีไข่ตก (anovulation) ซึ่งทำให้ประจำเดือนขาดหรือไม่สม่ำเสมอ มีบุตรยาก ภาวะฮอร์โมนเพศชายในเลือดสูง (hyperandrogenemia) ซึ่งทำให้มีขนดก หนวดขึ้น สิวขึ้น หน้ามัน และภาวะรังไข่มีลักษณะเป็นถุงน้ำ (cyst) ขนาด 2-6 มม. จำนวนมากทั้ง 2 ข้าง

พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้หญิงโดยทั่วไป ผู้หญิงที่เป็นสิวพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 40 ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 50-90 และผู้หญิงที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีประวัติเป็นโรคนี้ค่อนข้างมาก (ทางประเทศตะวันตกมีรายงานว่าพบได้ประมาณร้อยละ 80)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยรุ่นและอาการจะเป็นมากขึ้นตามอายุ

* มีชื่อเรียกอื่น ได้แก่ “Hyperandrogenic chronic anovulation”, “Stein-Luventhal syndrome”

สาเหตุ

ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน พบว่าผู้ป่วยจะมีการหลั่งฮอร์โมนแอลเอช (luteining hormone/LH)* มากเกินและมีภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance)** ร่วมกับภาวะอินซูลินในเลือดสูง ส่งผลให้รังไข่สร้างฮอร์โมนต่าง ๆ อย่างไม่ได้สมดุล เกิดภาวะฮอร์โมนเพศชายสูงและไม่มีการตกไข่ ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแสดงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

*ฮอร์โมนแอลเอชมีหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่หลั่งฮอร์โมนเพศชายซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิง และกระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิล (follicle) หรือถุงไข่ของรังไข่ ซึ่งถ้ากระตุ้นมากเกินก็ทำให้เกิดถุงน้ำ (cyst) ได้
** หมายถึง ภาวะที่เซลล์ไม่สามารถนำอินซูลินที่มีการสร้างได้เป็นปกติไปใช้ประโยชน์ ตับอ่อนจึงมีการหลั่งอินซูลินให้มากขึ้นเพื่อชดเชยให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงเกิดภาวะอินซูลินในเลือดสูง และในระยะยาวภาวะดื้ออินซูลินทำให้เกิดเบาหวานตามมา


อาการ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80-90) จะมีอาการหน้ามัน เป็นสิว ขนดก หนวดขึ้นผิดปกติ

ประมาณร้อยละ 60-70 มีประจำเดือนผิดปกติ คือ ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาห่าง (เว้นห่างมากกว่า 35 วัน หรือมีประจำเดือนน้อยกว่า 8 ครั้ง/ปี) บางรายมีประจำเดือนมากหรือออกผิดปกติแบบโรคดียูบี


ภาวะแทรกซ้อน

จากการทดสอบความทนต่อกลูโคส (75 g OGTT) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าเป็นเบาหวาน และเบาหวานแฝง (prediabetes) ประมาณร้อยละ 10-15 และ 30-40 ตามลำดับ

ผู้ป่วยอาจมีบุตรยาก แท้งบุตร หรือคลอดบุตรก่อนกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการเมตาบอลิก (ดู "โรคไขมันในเลือดผิดปกติ") โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น (โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง) เยื่อบุมดลูกหนาตัว (endometrial hyperplasia เนื่องจากมีเอสโทรเจนสูงโดยไม่มีโพรเจสเทอโรน ทำให้เยื่อบุมดลูกถูกกระตุ้นให้หนาตัว) มะเร็งเยื่อบุมดลูก (ซึ่งมักจะพบในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 40 ปี) เป็นต้น


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

หน้ามัน เป็นสิว ขนดก มีหนวดขึ้น

รูปร่างท้วม หรืออ้วน (พบได้ประมาณร้อยละ 60)

ผิวหนังมีปื้นหนาสีน้ำตาลหรือสีดำคล้ายกำมะหยี่ (acanthosis nigricans) พบได้ประมาณร้อยละ 40 พบบ่อยที่บริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อนิ้วมือ ต้นขาด้านใน ใต้นม รอบช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งมักเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง (แบบสมมาตร) บางครั้งอาจมีติ่งหนัง (skin tag) อยู่ในรอบ ๆ บริเวณที่เป็นปื้นหนา

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเพศชายและหญิงและฮอร์โมนอื่น ๆ เพื่อแยกแยะจากสาเหตุอื่น รวมทั้งตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (โดยการทดสอบความทนต่อกลูโคสหรือ 75 g OGTT) และไขมันในเลือด ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากการตรวจพบอย่างน้อย 2 ข้อ ของลักษณะ 3 ข้อต่อไปนี้

    ประจำเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มา มาห่าง หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย (ดียูบี)
    มีอาการของฮอร์โมนเพศชายสูง (หน้ามัน เป็นสิว ขนดก หนวดขึ้น) และ/หรือตรวจพบฮอร์โมนเพศชายชนิดใดชนิดหนึ่งสูง
    ตรวจอัลตราซาวนด์พบรังไข่เป็นถุงน้ำหลายถุง


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ในรายที่มีประจำเดือนผิดปกติ ให้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (เช่น norethisterone หรือ medroxy progesterone) หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม

2. ในรายที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ให้ norethisterone หรือ medroxyprogesterone เป็นเวลา 6 เดือน

3. ในรายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการมีบุตร ให้ยากระตุ้นรังไข่ ได้แก่ โคลมิฟีนซิเทรต (clomiphenecitrate) ถ้าไม่ได้ผลให้เมตฟอร์มิน (metformin) ให้เดี่ยว ๆ หรือให้ร่วมกับโคลมิฟีนซิเทรต

บางรายแพทย์อาจให้ยาฉีด follicle-stimulating hormone (FHS) หรือทำการจี้รังไข่ด้วยไฟฟ้าโดยวิธีส่องกล้องเข้าช่องท้อง (laparoscopic ovarian drilling) ทำให้เกิดความร้อนทำลายเนื้อเยื่อรังไข่บางส่วนเพื่อลดปริมาณฮอร์โมนเพศชาย ช่วยให้มีการตกไข่ วิธีนี้ถ้าใช้ร่วมกับการให้ยาโคลมิฟีนซิเทรต จะช่วยให้ได้ผลมากขึ้น

4. ให้การรักษาภาวะอื่น ๆ ที่พบร่วม เช่น เบาหวาน น้ำหนักเกิน กลุ่มอาการเมตาบอลิก


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการหน้ามัน เป็นสิว ขนดก หนวดขึ้นผิดปกติ มีประจำเดือนผิดปกติ คือ ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาห่าง (เว้นห่างมากกว่า 35 วัน หรือมีประจำเดือนน้อยกว่า 8 ครั้ง/ปี) ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    ลดน้ำหนักถ้าอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
    ลดอาหารไขมัน แป้ง และน้ำตาล

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
    มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย มีเลือดประจำเดือนออกกะปริดกะปรอย เจ็บหน้าอก หรือมีอาการแขนขาชาหรืออ่อนแรง
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง


ข้อแนะนำ

1. ผู้หญิงวัยรุ่นหรือวัยสูงอายุที่เป็นสิวซึ่งรักษายาก หรือมีอาการหน้ามัน ขนดก หนวดขึ้น ประจำเดือนไม่มา หรือมาห่าง หรือมีบุตรยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหากลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง

2. โรคนี้ส่วนใหญ่สามารถรักษาให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ช่วยให้มีบุตรได้ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน (เช่น เบาหวาน มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก) ได้


 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี