ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายสกัด: ปริมาณกระชายขาวที่ควรกิน  (อ่าน 81 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 513
    • ดูรายละเอียด
ปริมาณกระชายขาวที่ควรกิน

-    สำหรับการนำกระชายขาวมาปรุงเป็นอาหาร การดยนำเหง้าหรือรากของกระชายขาวล้างให้สะอาดแล้วปรุงนำไปปรุงร่วมกับส่วนผสมอื่น ควรรับประทาน 3 มื้อ ครั้งละ 25 กรัม หลังอาหาร
-    สำหรับการนำกระชายขาวแห้งชงกินกับน้ำร้อน โดยการนำเหง้าและรากกระชายขาวแห้งมาบดเป็นผง เทน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากัน ควรดื่มทั้งน้ำและเนื้อ เนื่องจากสารสำคัญในกระชายขาวไม่ละลายน้ำ จึงต้องรับประทานเนื้อด้วย
-    สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม กรณีมีแคปซูลกระชายขาว ให้รับประทานครั้งละ 2 กรัม หลังอาหาร 3 มื้อ
-    สำหรับเครื่องดื่มน้ำกระชาย (ไม่ต้องแยกกาก) โดยใช้เหง้ากระชายสด 1 ขีด หรือ 25 กรัม ล้างให้สะอาด ปั่นให้ละเอียดกับน้ำสะอาด 300 มิลลิลิตร ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว 20 มิลลิลิตร และน้ำผึ้ง 20 มิลลิลิตร แบ่งดื่มหลังอาหาร 3 มื้อ


กระชายมีฤทธิ์อะไร

สารสกัดกระชายขาว มีสารสำคัญ 2 ตัวคือ

-    PandulatinA (แพนดูเรทีน-เอ) ซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเหง้าของกระชายขาว มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยต่อการนำมาใช้

-    Pinostrobin (พิโนสโตรบิน) เป็นองค์ประกอบทางเคมีชนิดหลักที่พบในกระชายขาว ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ต้านเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ต้านเชื้อไวรัส ต้านออกซิเดชัน ต้านอักเสบ ต้านลิวคิเมีย ต้านเอนไซม์อโรมาเทส (anti-aromatase) ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม ปกป้องเซลล์ประสาท


กระชายขาวกินอย่างไร

กระชายขาวมีฤทธิ์ต้านโรคได้จริงหรือไม่? แล้วต้องกินอย่างไร กินปริมาณแค่ไหน ร่างกายถึงจะได้รับประโยชน์จากกระชายขาว

กระชายขาวเป็นสมุนไพรที่ผู้คนนำมารับประทานอยู่แล้ว ไม่เพียงแต่รสชาติที่ได้จากกระชายขาว เมื่อนำมาประกอบอาหารเอง หรือการนำกระชายขาวมาคั้นน้ำสดเพื่อรับประทาน และยังมีการนำกระชายขาวสกัดมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย


ส่วนประกอบของกระชายขาวที่สามารถนำมารับประทานได้ ตั้งแต่

-    เหง้า (ลำต้นใต้ดิน) มีรสขม เผ็ดร้อน รักษาโรคที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร อาการแน่น จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดมวลในท้อง แก้บิดมูกเลือด ปวดเบ่ง ท้องร่วง รักษาโรคบิด รักษาโรคที่เกิดในบริเวณช่องปาก แก้โรคในปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ปากแห้ง นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องภายในผู้หญิง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นยำบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง หรือช่วยในเรื่องโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า โดยใช้เป็นยาภายนอก

-    ราก (นมกระชาย) คนโบราณมักจะนิยมนำนมและหัวกระชายขาวมาตำเพื่อดองสุรา ใช้ดื่มเพื่อบำรุงความรู้สึกทางเพศ ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย สรรพคุณเสมือนโสมที่ช่วยในเรื่องสมรรถภาพทางเพศชาย หรือนำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะรับประทานในแบบลูกกลอน เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นเนื่องจากมีรสขม เผ็ดร้อน

-    ใบ มีรสเฝื่อน ออกร้อน ช่วยถอนพิษต่างๆ แก้โรคต่างๆในปาก


การนำแต่ละส่วนของกระชายขาวมาใช้นั้น ข้อควรรู้คือ กระชายขาวไม่สามารถนำมารับประทานสดๆได้ ต้องมีกระบวนการผ่านความร้อน เพื่อให้สุกก่อนจึงจะนำมารับประทานได้ เนื่องจากกระชายขาวจะออกฤทธิ์ร้อนเมื่อถูกนำไปผ่านความร้อน จะทำให้สารที่อยู่ในกระชายขาวนั้นออกมาเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการรับประทานได้
 

กระชายสกัด: ปริมาณกระชายขาวที่ควรกิน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี