ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อต้องวางท่อระบายน้ำคอนกรีต  (อ่าน 110 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 513
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อต้องวางท่อระบายน้ำคอนกรีต

การวางท่อระบายน้ำคอนกรีต เป็นงานก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ข้องเกี่ยวกับคนส่วนมากและมักนำมาใช้งานเพื่อส่วนรวม การก่อสร้างจึงต้องใช้ความรอบคอบ และความระมัดระวังเป็นพิเศษโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะงานวางท่อระบายน้ำจะเกี่ยวข้องกับงานระบายน้ำเป็นหลัก ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อระบายหรือลำเลียงน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง หรือระบายน้ำฝนจำนวนมากในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ถนน ชุมชน หมู่บ้าน หรือพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น การเลือกนำวัสดุจำพวกท่อระบายน้ำคอนกรีต ขั้นตอนระหว่างก่อสร้างจึงมีความสำคัญ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อมีการก่อสร้างและวางท่อระบายน้ำคอนกรีต ดังนี้

สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อต้องวางท่อระบายน้ำคอนกรีต

1. ทำความเข้าใจภาพรวมของโครงการ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการวางท่อระบายน้ำคอนกรีต จะต้องทำความเข้าใจรูปแบบของโครงการที่จะดำเนินการก่อสร้างก่อนว่ามีก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อะไร นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร มีรูปแบบการก่อสร้างในรูปแบบไหนบ้าง ใช้งบประมาณเท่าไหร่ และคาดการณ์ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดกี่วัน อีกทั้งงานก่อสร้างวางท่อระบายน้ำคอนกรีต เป็นงานที่ต้องอาศัยงานก่อสร้างหลายประเภทเพื่อเตรียมพื้นที่ที่ใช้สำหรับวางแนวทางท่อระบายน้ำคอนกรีต เช่น งานขุดดิน งานถม งานคอนกรีต งานรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิม การถางป่า เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเตรียมการเป็นอย่างดี เพื่อให้งานวางท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม คือ ควรศึกษากฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย เพื่องานจะได้ไม่พบเจอกับอุปสรรคที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต เพราะนอกจากจะเสียเวลาแล้วอาจจะทำให้เสียเงินเพิ่มมากขึ้นด้วย

2. วัสดุที่นำมาใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
ผู้ควบคุมการก่อสร้างนอกจากจะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบที่ร่างไว้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด และกฎระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัดด้วย รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่มีมาตรฐานโดยเฉพาะวัสดุที่เกี่ยวข้องกับงานระบายน้ำโดยตรงอย่างท่อระบายน้ำคอนกรีต เพื่อให้งานวางท่อระบายน้ำคอนกรีตมีคุณภาพที่ดี มีความปลอดภัยสูง และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ซึ่งก่อนที่ผู้ควบคุมงานจะนำท่อระบายน้ำคอนกรีตมาใช้ต้องร้องขอดูเอกสารรับรองการผลิตท่อระบายน้ำคอนกรีตจากผู้ผลิตก่อนว่ามีขนาดและความแข็งแรงถูกต้อง ครบถ้วน และมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงการทดสอบความแข็งแรงจากการสุ่มตรวจสอบท่อระบายน้ำคอนกรีต และบ่อพักระบายน้ำที่นำมาใช้ด้วยเช่นกัน


3. ชนิดและขนาดท่อระบายน้ำคอนกรีตต้องให้เหมาะสม

อย่างที่รู้กันว่าวัสดุที่นำมาใช้ในงานวางท่อระบายน้ำมีหลายชนิด หลายประเภท และหลายขนาด ซึ่งการจะเลือกนำท่อระบายน้ำแบบไหนมาใช้ต้องอาศัยการคำนวณและการออกแบบจากสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดหลายปี ปริมาณน้ำเสียหรือน้ำทิ้งในพื้นที่ จำนวนการใช้รถใช้ถนน ความชุกของคนในพื้นที่หรือชุมชน เป็นต้น การเลือกใช้วัสดุของท่อระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เราจึงคำนวณโดยอาศัยตัวแปรที่เป็นปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา ได้แก่

        อุณหภูมิและความดันของน้ำทิ้งหรือน้ำเสียในบริเวณนั้น
        ชนิดของน้ำในพื้นที่ โดยควรพิจารณาว่าน้ำที่เป็นน้ำเสียนั้นทำปฏิกิริยากับท่อระบายน้ำหรือไม่
        สภาพแวดล้อมโดยรอบที่อาจทำให้เกิดการผุกร่อนของท่อระบายน้ำที่นำมาใช้
        แรงกดทับโดยรอบ และแรงกระทำอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อท่อระบายน้ำ

    ปัจจัยข้างต้นนี้จะส่งผลต่อการเลือกใช้ท่อระบายน้ำทั้งสิ้น และอาจมีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติม ผู้ออกแบบโครงการควรทำการศึกษาและสำรวจให้รอบด้าน แม้ว่าในท้องตลาดมีท่อระบายน้ำหลากหลายวัสดุ เช่น ท่อโลหะ ท่ออลูมิเนียม ท่อพลาสติกชนิดต่าง ๆ ท่อแก้ว และท่อคอนกรีต ซึ่งแต่ละท่อจะมีความหนาแน่น ความทนทาน ความจุของของไหลที่แตกต่างกัน แต่สำหรับงานวางท่อระบายน้ำหากพิจารณารอบ ๆ ด้าน และตามมาตรฐานการวางท่อระบายน้ำส่วนใหญ่มักมีการเลือกใช้ท่อระบายน้ำคอนกรีตมากกว่า โดยเหตุผลที่เลือกใช้ท่อระบายน้ำคอนกรีต คือ

        มีความทนทานสูง เพราะท่อระบายน้ำคอนกรีตส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำงานได้ยาวนาน เนื่องจากคอนกรีตมีความสามารถที่ช่วยให้ไม่ไหม้ติดไฟ เกิดสนิมได้ยาก โอกาสแตกหักหรือเปราะบางได้น้อย
        แข็งแรงได้มาตรฐาน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการออกแบบและพัฒนาส่วนผสมของคอนกรีตให้มีความทนทานต่อการใช้งานมากขึ้น ทั้งยังมีกระบวนการผลิตที่ช่วยให้ท่อระบายน้ำสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่ใต้ดินตลอดเวลาได้ดี ทำให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตเป็นท่อระบายน้ำที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด สามารถรองรับหนักได้มาก และถ้ามีการเสริมเหล็กเพื่อเข้าไปจะยิ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรง และสามารถรองรับแรงอัดของท่อระบายน้ำคอนกรีตได้ดีขึ้น
        มีความคุ้มค่า เนื่องจากท่อระบายน้ำคอนกรีตมีความแข็งแกร่งและไม่จำเป็นต้องทำการบำรุงรักษาดูแลรักษาหรือเปลี่ยนบ่อยครั้งหลังจากติดตั้งแล้ว ทำให้มีต้นทุนการออกแบบและการติดตั้งที่คุ้มค่าเพราะไม่ต้องทำบ่อยครั้ง
   

    ประเภทและขนาดของท่อระบายน้ำคอนกรีตมีความสำคัญมากไม่แพ้กัน เพราะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโครงการ เช่น ท่อระบายน้ำคอนกรีตชนิดกลม จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตแบบปากระฆัง และท่อระบายน้ำคอนกรีตแบบปากลิ้นราง ซึ่งท่อระบายน้ำคอนกรีตทั้งสองนี้ เหมาะสำหรับงานระบายน้ำทั่วไปตั้งแต่รองรับน้ำหนักน้อยที่ใช้ตามที่พักอาศัย ที่เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตแบบธรรมดา ไม่มีเสริมเหล็กหรือที่เรียกว่า ท่อ คศล. ไปจนถึงงานที่รองรับน้ำหนักสูงตามสนามบิน นิคมอุตสาหกรรม หรือรถบรรทุกขนาดใหญ่ตามท้องถนนที่มีการสัญจรไปมาทุกช่วงเวลา โดยความแข็งแรงของท่อระบายน้ำคอนกรีตนั้น จะมีการแบ่งตามชั้นคุณภาพ ตั้งแต่ 1-4 โดยชั้นคุณภาพ 1 สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีที่สุด ในขณะที่ชั้นคุณภาพที่ 4 สามารถรองรับน้ำหนักหรือมีความแข็งแรงน้อยที่สุด

    ส่วนขนาดของท่อระบายน้ำคอนกรีต โดยทั่วไปแล้วท่อระบายน้ำคอนกรีตจะมีขนาดความยาวขนาด 100 ซม. เท่ากันทุก ๆ ท่อน แต่จะมีความแตกต่างกันก็ตรงความกว้างของท่อระบายน้ำคอนกรีต โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 300- 1500 มม. อย่างไรก็ตาม ขนาดความกว้างของท่อระบายน้ำคอนกรีตสามารถสั่งผลิตให้ได้ขนาดตามความต้องการเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในแต่ละโครงการ ได้


4. การวางท่อระบายน้ำคอนกรีตต้องระมัดระวัง

การยก การวาง และการขนส่งท่อระบายน้ำคอนกรีต ควรกระทำอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำเกิดการชำรุดเสียหาย สำหรับวิธีการวางท่อระบายน้ำที่ดีควรปฏิบัติตาม ดังนี้

        ขุดร่องสำหรับวางท่อระบายน้ำคอนกรีตเตรียมไว้ โดยร่องวางท่อระบายน้ำคอนกรีตนั้นจะต้องมีขนาด และความลึกตามแนวทางที่ออกแบบเอาไว้
        วางท่อระบายน้ำคอนกรีตให้เรียบสนิทกับทราย โดยที่ท้องของท่อระบายน้ำคอนกรีตต้องไม่เกิดช่องว่างบริเวณใต้ท้องของท่อระบายน้ำคอนกรีต หากบริเวณปากท่อหรือจุดรอยต่อของท่อระบายน้ำคอนกรีตโก่งตัวขึ้นมาควรปาดทรายบริเวณรอบข้อต่อออกเพื่อไม่ให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตบริเวณเชื่อมต่อกันแอ่นตัวขึ้นมา

    อย่างไรก็ตาม ผู้ควบคุมงานต้องคอยเอาใจใส่ คอยกำกับดูแล และตรวจสอบการทำงานของผู้รับจ้างอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการเก็บตัวอย่างนำไปทดสอบวัสดุตามที่กำหนดไว้ เช่น ทดสอบดิน ทดสอบท่อระบายน้ำคอนกรีต การทดเสริมเหล็กเสริมภายในท่อระบายน้ำคอนกรีต เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่ดำเนินการอยู่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานตามระเบียบของทางราชการอย่างแน่นอน

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี